อุปกรณ์สวิทช์ตัดต่อวงจรไฟฟ้า เพื่อการเปิด-ปิด ของหน้าสัมผัส (Contact) ทำงานโดยอาศัยอำนาจแม่เหล็กไฟฟ้าช่วยในการเปิด-ปิดหน้าสัมผัส ในการตัดต่อวงจรไฟฟ้า เช่น เปิด-ปิด การทำงานของวงจรควบคุมมอเตอร์ นิยมใช้ในวงจรของระบบแอร์ , ระบบควบคุมมอเตอร์ หรือใช้ในการควบคุมเครื่องจักรต่างๆ โดยแมกเนติกคอนแทคเตอร์นั้น จะมีส่วนประกอบหลักที่สำคัญต่อการทำงาน ได้แก่ แกนเหล็ก (Core) ,ขดลวด (Coil) ,หน้าสัมผัส (Contact) และสปริง (Spring)
มีหน้าที่เป็นสะพานไฟ เพื่อตัดต่อการทำงานของคอมเพรสเซอร์ เป็นอะไรแอร์ที่จำเป็นในการใช้งานเครื่องปรับอากาศมาก ช่างแอร์ที่เคยซ่อมแอร์คงจะรู้ดีว่าแมกเนติกตัวนี้จะมีเสียงแต๊ก ตอนเริ่มการทำงานของแอร์เสมอ แมกเนติกคอนแทคเตอร์คือ……สวิตซ์ทางไฟฟ้าที่ทำหน้าที่เหมือนกับสวิตซ์เปิด-ปิดไฟธรรมดาเป็นสวิตซ์อีกหนึ่งชนิด ประกอบด้วยส่วนที่สำคัญ 2ส่วนคือ ส่วนที่เป็นขดลวดหรือคอลย์ซึ่งเมื่อป้อนกระแสไฟฟ้าเข้าในขดลวดแล้วจะเกิดสนามแม่เหล็กขึ้นและอีกส่วนหนึ่งเป็นหน้าที่สัมผัสของตัวแม็กเนติกคอนแทกเตอร์ ทำหน้าที่ตัดหรือต่อวงจรไฟฟ้ากำลังที่ป้องเข้าโหลด เมื่อป้อนกระแส หลักการทำงานของแมกเนติกคอนเทคเตอร์มีดังนี้ไฟฟ้าเข้าขดลวดจะเกิดสนามแม่เหล็กขึ้นรอบขดลวด มีอำนาจดูดเหล็กอมร์เมเจอร์(armature)ซึ่งแกนเหล็กนี้ปลายข้างหนึ่งต่ออยุ่กับหน้าสัมผัสเคลื่อนที่(moving contact) และปลายอีกข้างหนึ่งวางอยู่บนสริงซึ่งคอลย์ผลักแกนเหล็กอาร์เจอร์ให้หน้าสัมผัสจาก เมื่อขดลวดเกิดสนามแม่เหล็กและมีอำนาจมากกว่าแรงดันสริงแกนอาร์มาเจอร์จะถูกดูด ทำให้หน้าที่สัมผัสต่อกันและเมื่อตัดกระแสไฟฟ้าที่ป้อนเข้าขดลวด อำนาจแม่เหล็กรอบขดลวดจะหมดไปแรงดันสริงจะผลักแกนเหล็กอาร์มาเจอร์ให้หน้าสัมผัสจากออกหน้าสัมผัสของแมกเนติกคอนแทคเตอร์ ในหนึ่งตัวอาจจะมีขั่วเพียงขั่วเดียว หรือ 2ขั่วหรือ 3ขั่ว ก็ได้
เมื่อมีกระแสไฟฟ้าไหลผ่านไปยังขดลวดสนามแม่เหล็กที่อยู่ขากลางของแกนเหล็ก ขดลวดจะสร้างสนามแม่เหล็กที่แรงสนามแม่เหล็กชนะแรงสปริงดึงให้แกนเหล็กชุดที่เคลื่อนที่ (Stationary Core) เคลื่อนที่ลงมาในสภาวะนี้ (ON) คอนแทคทั้งสองชุดจะเปลี่ยนสภาวะการทำงานคือ คอนแทคปกติปิดจะเปิดวงจรจุดสัมผัสออก และคอนแทคปกติเปิดจะต่อวงจรของจุดสัมผัส เมื่อไม่มีกระแสไฟฟ้าไหลผ่านเข้าไปยังขดลวด สนามแม่เหล็กคอนแทคทั้งสองชุดจะกลับไปสู่สภาวะเดิม