คอมเพรสเซอร์ ถือว่าเป็นอุปกรณ์ที่สำคัญที่สุดของระบบทำความเย็น ด้วยการทำหน้าที่เพิ่มความดันให้กับสารทำความเย็นที่อยู่ในสถานะเป็นไอ โดยคอมเพรสเซอร์จะดูดสารทำความเย็นที่เป็นไอความดันต่ำจากเครื่องระเหย (Evaporator) เข้ามาทางท่อดูดของคอมเพรสเซอร์และอัดไอของสารทำความเย็นนี้ให้มีความดันและอุณหภูมิที่สูงขึ้น ก่อนจะส่งไปยังคอนเดนเซอร์ (Condensor) ต่อไป
คอมเพรสเซอร์(Compressor)คือ อุปกรณ์ที่สำคัญที่สุดในระบบปรับอากาศ คอมเพรสเซอร์ทำหน้าที่เพิ่มความดันให้กับสารทำความเย็นที่อยู่ในสถานะเป็นไอ โดยคอมเพรสเซอร์จะดูดสารทำความเย็นที่เป็นไอความดันต่ำจากเครื่องระเหย (Evaporator) เข้ามาทางท่อดูดของคอมเพรสเซอร์และอัดไอของสารทำความเย็นนี้ให้มีความดันและอุณหภูมิที่สูงขึ้น ก่อนจะส่งไปยังคอนเดนเซอร์ (Condensor) ต่อไป กระบวนการอัดไอให้กับสารทำความเย็นด้วยคอมเพรสเซอร์นี้ เป็นกระบวนการที่ทำให้สารทำความเย็นในรูปแบบไอนั้นกลับมาสู่สถานะของเหลวอีกครั้ง เนื่องจากสารทำความเย็นจะต้องวิ่งไปทั้งระบบทำความเย็นและสามารถกลับคืนสู่สภาวะพร้อมใช้งานได้อีกครั้ง (แนบลิงค์บทความสารทำความเย็น) การทำงานของคอมเพรสเซอร์ที่แบ่งออกเป็นหลายรูปแบบ แต่มีหลักการเดียวกันคือทำให้สารทำความเย็นในสถานะที่เป็นไอนั้นมีความดันเพิ่มขึ้น การเลือกใช้คอมเพรสเซอร์จึงต้องวิเคราะห์ตามขนาดของระบบทำความเย็นเพื่อให้ได้กระบวนกันอัดไอที่เหมาะสมต่อระบบทำความเย็นมากที่สุด
การทำงานของคอมเพรสเซอร์แบบลูกสูบนั้นจะดูดและอัดสารทำความเย็นหรือน้ำยาแอร์ในสถานะที่ยังเป็นแก๊ส ที่มีอุณหภูมิต่ำเเละความดันต่ำจากอีวาพอเรเตอร์ เข้ามาอัดตัวให้เป็นแก๊สที่มีอุณหภูมิสูงและความดันสูงขึ้นแล้วส่งไปยังคอนเดนเซอร์ หลักการทํางานของคอมเพรสเซอร์แบบลูกสูบนั้นมีดังนี้คือ แต่ละกระบอกสูบจะประกอบด้วย ชุดของลิ้นทางอัดและลิ้นทางดูด ซึ่งอยู่ติดกับวาล์วเพรต ( Valve plate ) ในขณะที่ลูกสูบหนึ่งเคลื่อนที่ลงในจังหวะดูด ลูกสูบหนึ่งจะเคลื่อนที่ขึ้นในจังหวะอัด
คอมเพรสเซอร์แบบโรตารี่นั้นทำหน้าที่ดูดและอัดสารทำความเย็นในสถานะของแก๊ส โดยพึ่งพาการกวาดตัวตามแกนโรเตอร์ ( Rotor ) แต่คอมเพรสเซอร์แบบโรตารี่นี้มีขีดจำกัด คือจะทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูง กินไฟน้อย กับระบบเครื่องทำความเย็นขนาดไม่เกิน 1-2 ตัน เท่านั้นแต่ถ้าระบบขนาด หากใหญ่เกินกว่านี้แล้ว จะใช้งานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ คอมเพรสเซอร์แบบโรตารี่นี้นิยมใช้ในแอร์บ้าน ที่ใช้ฟินคอยล์ในการระบายความร้อน โดยมีขนาดไม่เกิน 36,000 BTU
คอมเพรสเซอร์แบบสโครล์เป็นคอมเพรสเซอร์ขนาดเล็กถึงกลาง (1 – 50 Ton ) โดยดึงเอาข้อดีของคอมเพรสเซอร์แบบลูกสูบและแบบโรตารี่มารวมกันทำให้ยิ่งมีประสิทธิภาพที่เพิ่มมากขึ้น โดยลักษณะจะเป็นแผ่นวงกลมสองวงมีครีบหมุนแบบก้นหอยสองแผ่นประกบคู่กัน แผ่นก้นหอยตัวบนจะถูกยึดติดกับที่ ตัวล่างจะถูกเหวี่ยงเป็นวงโคจรโดยเพลาของมอเตอร์
คอมเพรสเซอร์แบบสกรูจะทำงานโดยดูดอัดสารทำความเย็นในสถานะแก๊สโดยใช้สกรู 2 ตัวซึ่งขบกัน โดยมีช่องว่างระหว่างสกรูทั้งสองห่างกันน้อยมาก เเละในขณะที่สกรูถูกหมุนนั้น สกรูจะดูดสารทำความเย็นเข้าและอัดออกทางด้านปลายของสกรู แล้วส่งออกทางด้านอัดของคอมเพรสเซอร์นั่นเอง
การทำงานโดยอาศัยใบพัด (impeller) ที่หมุนด้วยความเร็วรอบสูงประมาณ 3,000 ถึง 18,000 รอบ/นาที นิยมใช้กับเครื่องทำความเย็นขนาดใหญ่ 250 ถึง 1,000 ตัน เพราะทำงานที่ความดันต่ำมาก ทำมห้เหมาะที่จะใช้กับระบบที่ใช้น้ำยาที่มีจุดเดือดสูง เช่น R-11, R-113 หรือ R-123 ซึ่งภายใต้ความดันบรรยากาศจะมีจุดเดือดที่ 74.8oF และ 82oF ตามลำดับ
A compressor is a mechanical device that increases the pressure of a gas by reducing its volume. An air compressor is a specific type of gas compressor.
Compressors are similar to pumps: both increase the pressure on a fluid and both can transport the fluid through a pipe. As gases are compressible, the compressor also reduces the volume of a gas.
Liquids are relatively incompressible; while some can be compressed, the main action of a pump is to pressurize and transport liquids.
Many compressors can be staged, that is, the fluid is compressed several times in steps or stages, to increase discharge pressure. Often, the second stage is physically smaller than the primary stage. To accommodate the already compressed gas without reducing its pressure. Each stage further compresses the gas and increases its pressure and also temperature (if inter cooling between stages is not used).
คอมเพรสเซอร์จะมีลูกปืนที่ทำหน้าที่ฉีดและอัดสารทำความเย็นเข้าสู่ระบบ ทำงานโดยมีการหมุนของใบพัดด้วยความเร็วสูง โดยมีมีข้อดีคือคือ การสั่นสะเทือนน้อย ทำงานเงียบเพราะและประกอบด้วยชิ้นส่วนจำนวนน้อยกว่าแบบลูกสูบ แต่ยังมีประสิทธิภาพพลังงานสูง (EER) เหมาะสำหรับเครื่องปรับอากาศขนาดเล็ก
พัฒนามาจากแบบคอมเพรสเซอร์แบบโรตารี่ โดยออกแบบใบพัดเป็นรูปก้นหอย จำนวนชิ้นส่วนมีการเคลื่อนที่น้อยกว่าและมีการสั่นสะเทือนน้อยทำให้เสียงเงียบ อีกทั้งยังทำการบำรุงรักษาและซ่อมแซมได้ง่าย เพราะมีขนาดเล็ก น้ำหนักเบา และการออกแบบที่ไม่ซับซ้อน จึงเหมาะกับเครื่องปรับอากาศขนาดกลาง
เราพร้อมให้บริการตอบคำถามปัญหาต่าง ๆ เกี่ยวกับอะไหล่แอร์ท่านสามารถติดต่อเราได้ตอนนี้