Shopping cart

วิธีตรวจเช็คคาปาซิเตอร์ ทำอย่างไร?

วิธีตรวจเช็คคาปาซิเตอร์ ทำอย่างไร? ในส่วนการตรวจสอบหรือตรวจเช็คคาปาซิเตอร์ โดยทั่วไปแล้วที่นิยมใช้กันในเวลาปฏิบัติงานจริงจะมี วิธี ได้แก่

>

> วิธีตรวจเช็คคาปาซิเตอร์ ทำอย่างไร?

คาปาซิเตอร์ คืออะไร?

เป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์อย่างหนึ่ง ทำหน้าที่เก็บพลังงานในสนามไฟฟ้า ที่สร้างขึ้นระหว่างคู่ฉนวน โดยมีค่าประจุไฟฟ้าเท่ากัน แต่มีชนิดของประจุตรงข้ามกัน บางครั้งเรียกตัวเก็บประจุนี้ว่า คอนเดนเซอร์(condenser) เป็นอุปกรณ์พื้นฐานสำคัญในงานอิเล็กทรอนิกส์ และพบได้แทบทุกวงจร

ตัวเก็บประจุที่ผลิตออกมาในปัจจุบันมีมากมาย เราสามารถแบ่งชนิดของตัวเก็บประจุตามลักษณะทางโครงสร้างหรือตามสารที่นำมา ใช้เป็นไดอิเล็กตริก การแบ่งโดยใช้สารไดอิเล็กตริกเป็นวิธีการที่ค่อนข้างละเอียดเพราะว่าค่าไดอีเล็กตริกจะเป็นตัวกำหนดค่าตัวเก็บประจุตัวนั้น ๆ ว่าจะนำไปใช้งานในลักษณะใด ทนแรงดันเท่าใด แต่ถ้าหากแบ่งตามระบบเก่าที่เคยแบ่งกันมาจะสามารถแบ่งตัวเก็บประจุได้เป็น 3 ชนิดด้วยกันคือ

1.ตัวเก็บประจุแบบค่าคงที่(Fixed Capacitor)
2.ตัวเก็บประจุแบบปรับค่าได้ (Variable Capacitor)
3.ตัวเก็บประจุแบบเลือกค่าได้ (Select Capacitor)

is an electronic device serves to store energy in an electric field created between insulating pairs with the same electric charge but with opposite types of charges This capacitor is sometimes called a condenser (condenser) is a basic equipment in electronics. and found in almost every circuit

There are many capacitors that are produced today. Capacitors can be classified according to their structural characteristics or by the substance used. used as a dielectric Dielectric separation is a rather elaborate method because the dielectric determines how the capacitor will be used. how much pressure But if divided according to the old system that used to be divided, capacitors can be divided into 3 types:

1. Fixed capacitor (Fixed Capacitor)
2. Variable Capacitor
3. Selectable Capacitor

คาปาซิเตอร์

ในส่วนการตรวจสอบหรือตรวจเช็คคาปาซิเตอร์ โดยทั่วไปแล้วที่นิยมใช้กันในเวลาปฏิบัติงานจริงจะมี วิธี ได้แก่

วิธีที่ 1 คือการทดสอบโดยใช้มัลติมิเตอร์ สามารถแยกออกได้อีกสองรูปแบบคือ ใช้มัลติมิเตอร์แบบอนาล็อก(มิเตอร์แบบเข็ม) และ ใช้มัลติมิเตอร์แบบดิจิตอล

1.1 การตรวจสอบคาปาซิเตอร์โดยใช้มัลติมิเตอร์อนาล็อก(มิเตอร์แบบเข็ม)

การตรวจสอบ โดยมัลติมิเตอร์อนาล็อก(มิเตอร์แบบเข็ม) ให้ปรับย่านวัดไปที่ ค่าความต้านทาน R x 1K แล้วนำปลายสายของมิเตอร์มาจี้ที่ขั้วทั้ง 2 ของคาปาซิเตอร์ ถ้าคาปาซิเตอร์ใช้งานได้เข็มของมิเตอร์จะสวิงชี้ขึ้นมาในระดับครึ่งสเกล แล้วเข็มจะค่อยๆตกลง ถือว่าคาปาซิเตอร์ยังใช้งานได้ แต่ถ้าคาปาซิเตอร์ ขาดเมื่อวัดแล้วเข็มจะไม่กระดิกขึ้นเลย 

และหากในกรณีที่คาปาซิเตอร์ตัวนั้นลัดวงจรภายใน เมื่อวัดด้วยมิเตอร์อนาล็อก เข็มบนหน้าปัดของมิเตอร์ จะสวิงชี้ขึ้นจนสุดสเกล (ถึงเลข 0) หรือเต็มสเกล ซึ่งก็แสดงว่าคาปาซิเตอร์อันนั้นลัดวงจรภายใน

1.2 การตรวจสอบโดยใช้มัลติมิเตอร์แบบดิจิตอล

ปัจจุบันมัลติมิเตอร์แบบดิจิตอล เริ่มเข้ามามีบทบาทมากในแวดวงงานช่างไฟฟ้า เนื่องจากมีการแสดงค่าที่แม่นยำในระดับจุดทศนิยม และใช้งานง่ายกว่ามากเมื่อเทียบกับมัลติมิเตอร์แบบอนาล็อก อีกทั้งรูปทรงของมัลติมิเตอร์แบบดิจิตอลในปัจจุบันก็มีให้เลือกหลากลาย ตั้งแต่ขนาดเล็กกระทัดรัดไปจนถึงขนาดใหญ่ รวมทั้งฟังก์ชั่นการทำงานที่ถูกพัฒนาให้วัดค่าทางไฟฟ้าได้หลากหลายในเครื่องเดียว 

และที่สำคัญ…ราคาค่าตัวของมัลติมิเตอร์ในปัจจุบัน ก็มีการปรับลดราคาลงมาอยู่ในระดับที่ไม่แพงเหมือนในอดีต ทำให้สามารถหาซื้อมาใช้พกพาออกไปใช้งานนอกสนามแบบสมบุกสมบันได้โดยไม่ต้องเสียดาย 

หรือสำหรับท่านใดที่ไม่ได้อยู่ในแวดวงสายงานไฟฟ้า แต่มักจะซ่อมแซมเครื่องมือเครื่องใช้ในบ้านด้วยตนเองอยู่บ่อยครั้ง การจะจะซื้อมัลติมิเตอร์แบบดิจิตอลไว้ติดบ้านสักเครื่อง ก็มีประโยชน์ไม่ใช่น้อย

วิธีการตรวจเช็คคาปาซิเตอร์โดยใช้มัลติมิเตอร์แบบดิจิตอล ก็ไม่อยาก เพราะมิเตอร์แบบดิจิตอลหลายๆรุ่นที่วางขาย ต่างก็มีฟังก์ชั่นสำหรับวัดค่าความจุคาปาซิเตอร์มาให้พร้อม เพียงแค่กดเปลี่ยนโหมดมาเป็นโหมดวัดค่าความจุคาปาซิเตอร์ แล้วเอาสายวัดทั้งสองของมิเตอร์ไปแตะกับขั้วทั้งสองของคาปาซิเตอร์ 

ถ้าคาปาซิเตอร์ยังดีอยู่บนหน้าจอก็จะแสดงตัวเลขค่าความจุของคาปาซิเตอร์มาให้ ถ้าไม่แสดงก็แปลว่าคาปาซิเตอร์ขาด หรือถ้าแสดงค่าเป็นอินฟินิตี้ (Infinity) แสดงว่าคาปาซิเตอร์อันนั้น…ลัดวงจร

วิธีที่ 2 คือการการชาร์จประจุให้โดยตรง โดยการจ่ายแรงดันไฟฟ้าเข้า 220 โวลต์ เข้าไป เพื่อดูความสามารถในการกักเก็บประจุไฟฟ้าของคาปาซิเตอร์

แต่ต้องขอบอกไว้ก่อนว่าวิธีนี้ หากท่านใดที่ไม่มีความรู้ความชำนาญทางด้านงานช่างไฟฟ้า ก็ขอให้ข้ามวิธีนี้ไปได้เลย อ่านเพื่อเป็นความรู้ได้ แต่ไม่แนะนำให้ทำตาม เพราะอาจได้รับอันตรายจากไฟฟ้าได้

โดยวิธีนี้ก็คือการชาร์จประจุ จ่ายไฟจากแหล่งจ่าย 220 โวลต์ เข้าสู่คาปาซิเตอร์ ซึ่งพูดให้เห็นภาพก็คือ การนำขั้วของคาปาซิเตอร์ 2 ขั้ว แต่ละขั้วมาต่อเข้ากับสายไฟหรือแหล่งจ่ายไฟ โดยต่อขั้วคาปาซิเตอร์เข้ากับ L และ N โดยอาจจะเป็นสายไฟฟ้าที่เสียบมาจากเต้ารับ เป็นการจ่ายแรงดันไฟฟ้ากระแสสลับ 220 โวลต์ เข้าไปที่คาปาซิเตอร์โดยตรง ในระยะเวลาสั้นๆ (แค่ 5 – 10 วินที) แล้วดึงสายออกจากแหล่งจ่ายไฟ

โดยในทางทฤษฏี นี่ก็คือการชาร์จประจุให้กับคาปาซิเตอร์นั่นเอง

แต่สิ่งที่ควรระมัดระวังหลังจากที่ชาร์จประจุให้คาปาซิเตอร์แล้ว คืออย่าเผลอจับที่ขั้วคาปาซิเตอร์เด็ดขาด เพราะมันมีประจุไฟฟ้าที่แรงดันพอๆกับไฟบ้านเก็บอยู่ ถ้าเผลอไปจับอาจได้รับบาดเจ็บได้ และก่อนจะหยิบจับคาปาซิเตอร์ไปใช้งาน ต้องไม่ลืมทำการคายประจุด้วยหลอดใส้หรือไม่ก็ลัดวงจรที่ขั้วคาปาซิเตอร์เสียก่อน เพื่อคายประจุที่สะสมอยู่ออกมาให้หมด

บทความอื่นๆที่น่าสนใจ

มอเตอร์คอยล์ร้อนมีปัญหาแก้ไขอย่างไรดี?

มอเตอร์คอยล์ร้อน หรือ พัดลมคอยล์ร้อนมีปัญหา เราจะทำอย่างไรดี แต่ก่อนอื่นมาทำความรู้จักกับพัดลมคอยล์ร้อนกันก่อนเลยครับ

ติดตั้งแอร์

ติดตั้งแอร์ ให้เหมาะสมกับห้อง (Installation) มีเทคนิคอย่างไร

ถ้าเป็นห้องนอนควรวางให้ลมจากเครื่องปรับอากาศเป่าด้านข้างลำตัวขณะนอนเสมอ เพราะถ้าให้ลมพัดจากศีรษะไปเท้า หรือเท้าไปศีรษะ จะส่งผลให้ไม่สบายได้ง่าย

วิธีคำนวณ btu แอร์

วิธีคำนวณ BTU แอร์ยังไงให้พอดีกับห้อง

ก่อนที่เราจะติดแอร์ เราก็ต้องรู้ขนาดของ btuแอร์ ก่อนว่าจะติดขนาดเท่าไหร่…? การคำนวณ btu แอร์ โดยปกติแล้วมีวิธีคำนวณง่ายๆ มาดูกันเลย