Shopping cart

วิธีตรวจเช็ค คอมเพรสเซอร์ลงกราวด์

คอมเพรสเซอร์ลงกราวด์ เพราะน้ำยาเหลวกลับเข้าคอมเพรสเซอร์?
มาดูวิธีตรวจเช็คคอมเพรสเซอร์ลงกราวด์กันเลย

>

>วิธีตรวจเช็ค คอมเพรสเซอร์ลงกราวด์

คอมเพรสเซอร์คืออะไร?

คอมเพรสเซอร์(Compressor)คือ อุปกรณ์ที่สำคัญที่สุดในระบบปรับอากาศ คอมเพรสเซอร์ทำหน้าที่เพิ่มความดันให้กับสารทำความเย็นที่อยู่ในสถานะเป็นไอ โดยคอมเพรสเซอร์จะดูดสารทำความเย็นที่เป็นไอความดันต่ำจากเครื่องระเหย (Evaporator) เข้ามาทางท่อดูดของคอมเพรสเซอร์และอัดไอของสารทำความเย็นนี้ให้มีความดันและอุณหภูมิที่สูงขึ้น ก่อนจะส่งไปยังคอนเดนเซอร์ (Condensor) ต่อไป กระบวนการอัดไอให้กับสารทำความเย็นด้วยคอมเพรสเซอร์นี้ เป็นกระบวนการที่ทำให้สารทำความเย็นในรูปแบบไอนั้นกลับมาสู่สถานะของเหลวอีกครั้ง เนื่องจากสารทำความเย็นจะต้องวิ่งไปทั้งระบบทำความเย็นและสามารถกลับคืนสู่สภาวะพร้อมใช้งานได้อีกครั้ง (แนบลิงค์บทความสารทำความเย็น) การทำงานของคอมเพรสเซอร์ที่แบ่งออกเป็นหลายรูปแบบ แต่มีหลักการเดียวกันคือทำให้สารทำความเย็นในสถานะที่เป็นไอนั้นมีความดันเพิ่มขึ้น การเลือกใช้คอมเพรสเซอร์จึงต้องวิเคราะห์ตามขนาดของระบบทำความเย็นเพื่อให้ได้กระบวนกันอัดไอที่เหมาะสมต่อระบบทำความเย็นมากที่สุด

คอมเพรสเซอร์โรตารี่ ROTARY SCI

ประเภทของ คอมเพรสเซอร์

คอมเพรสเซอร์แบบลูกสูบ

คอมเพรสเซอร์แบบลูกสูบ
( Reciprocating Type )

การทำงานของคอมเพรสเซอร์แบบลูกสูบนั้นจะดูดและอัดสารทำความเย็นหรือน้ำยาแอร์ในสถานะที่ยังเป็นแก๊ส ที่มีอุณหภูมิต่ำเเละความดันต่ำจากอีวาพอเรเตอร์ เข้ามาอัดตัวให้เป็นแก๊สที่มีอุณหภูมิสูงและความดันสูงขึ้นแล้วส่งไปยังคอนเดนเซอร์ หลักการทํางานของคอมเพรสเซอร์แบบลูกสูบนั้นมีดังนี้คือ แต่ละกระบอกสูบจะประกอบด้วย ชุดของลิ้นทางอัดและลิ้นทางดูด ซึ่งอยู่ติดกับวาล์วเพรต ( Valve plate ) ในขณะที่ลูกสูบหนึ่งเคลื่อนที่ลงในจังหวะดูด ลูกสูบหนึ่งจะเคลื่อนที่ขึ้นในจังหวะอัด

คอมเพรสเซอร์ ROTARY SCI-rotary

คอมเพรสเซอร์แบบโรตารี
( Rotary Type )

คอมเพรสเซอร์แบบโรตารี่นั้นทำหน้าที่ดูดและอัดสารทำความเย็นในสถานะของแก๊ส โดยพึ่งพาการกวาดตัวตามแกนโรเตอร์ ( Rotor ) แต่คอมเพรสเซอร์แบบโรตารี่นี้มีขีดจำกัด คือจะทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพสูง กินไฟน้อย กับระบบเครื่องทำความเย็นขนาดไม่เกิน 1-2 ตัน เท่านั้นแต่ถ้าระบบขนาด หากใหญ่เกินกว่านี้แล้ว จะใช้งานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ คอมเพรสเซอร์แบบโรตารี่นี้นิยมใช้ในแอร์บ้าน ที่ใช้ฟินคอยล์ในการระบายความร้อน โดยมีขนาดไม่เกิน 36,000 BTU

คอมเพรสเซอร์สโครล INVOTECH

คอมเพรสเซอร์แบบสโครล์
( Scroll Type )

คอมเพรสเซอร์แบบสโครล์เป็นคอมเพรสเซอร์ขนาดเล็กถึงกลาง (1 – 50 Ton ) โดยดึงเอาข้อดีของคอมเพรสเซอร์แบบลูกสูบและแบบโรตารี่มารวมกันทำให้ยิ่งมีประสิทธิภาพที่เพิ่มมากขึ้น โดยลักษณะจะเป็นแผ่นวงกลมสองวงมีครีบหมุนแบบก้นหอยสองแผ่นประกบคู่กัน แผ่นก้นหอยตัวบนจะถูกยึดติดกับที่ ตัวล่างจะถูกเหวี่ยงเป็นวงโคจรโดยเพลาของมอเตอร์

คอมเพรสเซอร์-แบบสกรู( Screw Type )

คอมเพรสเซอร์แบบสกรู
( Screw Type )

คอมเพรสเซอร์แบบสกรูจะทำงานโดยดูดอัดสารทำความเย็นในสถานะแก๊สโดยใช้สกรู 2 ตัวซึ่งขบกัน โดยมีช่องว่างระหว่างสกรูทั้งสองห่างกันน้อยมาก เเละในขณะที่สกรูถูกหมุนนั้น สกรูจะดูดสารทำความเย็นเข้าและอัดออกทางด้านปลายของสกรู แล้วส่งออกทางด้านอัดของคอมเพรสเซอร์นั่นเอง

คอมเพรสเซอร์ แบบแรงเหวี่ยงหนีศูนย์ ( Centrifugal Type )

คอมเพรสเซอร์แบบแรงเหวี่ยงหนีศูนย์
( Centrifugal Type )

การทำงานโดยอาศัยใบพัด (impeller) ที่หมุนด้วยความเร็วรอบสูงประมาณ 3,000 ถึง 18,000 รอบ/นาที นิยมใช้กับเครื่องทำความเย็นขนาดใหญ่ 250 ถึง 1,000 ตัน เพราะทำงานที่ความดันต่ำมาก ทำมห้เหมาะที่จะใช้กับระบบที่ใช้น้ำยาที่มีจุดเดือดสูง เช่น R-11, R-113 หรือ R-123 ซึ่งภายใต้ความดันบรรยากาศจะมีจุดเดือดที่ 74.8oF และ 82oF ตามลำดับ

สาเหตุ เกิดจากน้ำยาเหลวกลับเข้าคอมเพรสเซอร์มากเกินไป น้ำยาเหลวกับน้ำมันจะรวมตัวกันอยู่ที่ก้นแคร้ง เมื่อน้ำมันถูกดูดนำไปใช้ก็จะพาน้ำยาเหลวไปด้วย เมื่อน้ำยาเหลวได้รับความร้อนจากชิ้นส่วนต่างๆก็เกิดการระเหยเป็นก๊าซ โดยจะมีน้ำมันที่เป็นละอองขณะที่น้ำยาเหลวระเหยถูกอัดออกไปที่ทางส่งของคอมเพรสเซอร์ และน้ำมันเข้าไปติดค้างอยู่ในระบบไม่สามารถกลับมาหล่อลื่นชิ้นส่วนของคอมเพรสเซอร์ได้ ทำให้เกิดความร้อนจากการเสียดสีของชิ้นส่วนต่างๆที่เคลื่อนไหวภายในคอมเพรสเซอร์ และความร้อนจะสะสมภายในคอมเพรสเซอร์อยู่เรื่อยๆถึงแม้จะมี Protect ตัดการทำงานก็ตาม ถ้าผู้ใช้งานยังเปิดเครื่องอยู่คอมเพรสเซอร์ก็จะทำงานตัดต่ออย่างนั้นไปเรื่อยๆ จนถึงจุดหนึ่งที่ทำให้ฉนวนของขดลวดเสื่อมสภาพและละลาย เป็นสาเหตุให้คอมเพรสเซอร์ลงกราวด์

-วิธีแก้ปัญหา หมั่นดูแลรักษา ล้างทำความสะอาดแอร์ประจำ และข้อสำคัญ ไม่ควรเปิดพัดลมแอร์เบอร์ต่ำ แล้วลดองศาแอร์ลงจะทำให้มีปัญหาน้ำยาไหลเข้าเครื่องได้เช่นกัน การติดตั้งถัง Accumulator ก็ช่วยแก้ปัญหาได้

Cause caused by too much liquid back into the compressor. Liquid solution and oil will gather at the bottom of the crankcase. When the oil is absorbed, it will carry the liquid solution with it. When the liquid is heated by the components, it evaporates into a gas. There will be oil that is aerosolized while the evaporating liquid is extruded to the compressor’s delivery way. And the oil stuck in the system can not return to lubricate the parts of the compressor. This causes heat from the friction of various moving parts inside the compressor. And heat will continue to accumulate inside the compressor even if Protect is cut off. If the user still has the power on, the compressor will continue to work like that. to a point where the insulation of the windings deteriorates and melts. causing the compressor to go to ground.

– solution take care Clean the air conditioner regularly and importantly, do not turn on the low air fan. And lowering the air conditioner degree will cause problems with liquid flowing into the machine as well. Installing the Accumulator tank solved the problem.

บทความอื่นๆที่น่าสนใจ

มอเตอร์คอยล์ร้อนมีปัญหาแก้ไขอย่างไรดี?

มอเตอร์คอยล์ร้อน หรือ พัดลมคอยล์ร้อนมีปัญหา เราจะทำอย่างไรดี แต่ก่อนอื่นมาทำความรู้จักกับพัดลมคอยล์ร้อนกันก่อนเลยครับ

ติดตั้งแอร์

ติดตั้งแอร์ ให้เหมาะสมกับห้อง (Installation) มีเทคนิคอย่างไร

ถ้าเป็นห้องนอนควรวางให้ลมจากเครื่องปรับอากาศเป่าด้านข้างลำตัวขณะนอนเสมอ เพราะถ้าให้ลมพัดจากศีรษะไปเท้า หรือเท้าไปศีรษะ จะส่งผลให้ไม่สบายได้ง่าย

วิธีคำนวณ btu แอร์

วิธีคำนวณ BTU แอร์ยังไงให้พอดีกับห้อง

ก่อนที่เราจะติดแอร์ เราก็ต้องรู้ขนาดของ btuแอร์ ก่อนว่าจะติดขนาดเท่าไหร่…? การคำนวณ btu แอร์ โดยปกติแล้วมีวิธีคำนวณง่ายๆ มาดูกันเลย